วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

“กล้องตรวจเลือดมหัศจรรย์”ส่องปุ๊บ-รู้โรคปั๊บ



การเจาะเลือด” เพื่อตรวจหาโรคต่างๆ เป็นวิธีที่โรงพยาบาลต่างๆนิยมทำกันมา โดยอาจต้องใช้เวลานานถึง 3-4 วัน จึงจะรู้ผล ทำให้การักษาเกิดความล่าช้า และไม่ทันใจผู้ป่วย ในวันนี้วงการแพทย์ได้ก้าวระดับไปอีกขั้น เมื่อมี”กล้องมหัศจรรย์”ที่สามารถตรวจดูลักษณะของเม็ดเลือดและบอกความผิดปกติที่อาจนำไปสู่โรคต่างๆได้ทันที


กล้อง Darkfield microscope เป็นกล้องชนิดพิเศษ ที่บริษัท แปซิฟิค ไบโอเทค จำกัด นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา และเริ่มทดลองใช้ครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปลายปี 2547 โดย ”กล้องมหัศจรรย์” จะสามารถตรวจดูรูปร่างและลักษณะอื่นๆของเม็ดเลือดในแต่ละบุคคล ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ สามารถตรวจสอบถึงความผิดปกติของระบบการย่อยอาหาร และภาวะโภชนาการของแต่ละบุคคล ความผิดปกติดังกล่าวจะรวมไปถึงลักษณะบางอย่างที่ไม่สามารถพบได้ จากการใช้วิธีวิเคราะห์เลือดทั่วๆไป ซึ่งเป็นการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในกระแสเลือด โดยการปั่นเหวี่ยง และแยกองค์ประกอบของเลือด


ในการตรวจสอบเม็ดเลือดสด จะสามารถตรวจพบความผิดปกติของระบบการย่อยอาหาร และภาวะโภชนาการที่บกพร่อง ก่อนที่การตรวจเลือดตามวิธีทั่วๆ ไปที่ตรวจในด้านการเปลี่ยนแปลงของสารเคมี โดยปกติแล้วการรักษาหลังจากการตรวจด้วยกล้องพิเศษนี้ จะประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัญหาต่างๆ จะถูกค้นพบก่อนที่จะเข้าสู่สภาวะการก่อโรคที่ร้ายแรง โดยผู้ป่วยจะสามารถเห็นถึงความแตกต่างระหว่างร่างกายที่มีพลังของสุขภาพที่ดี กับความรู้สึกที่ย่ำแย่ ในสภาพที่ไม่ควรจะเป็น โดยการตรวจสุขภาพเม็ดเลือด ภายใต้พื้นฉากดำของกล้องชนิดพิเศษ


ทั้งนี้ เมื่อเม็ดเลือดของผู้ป่วยเกิดความผิดปกติ ก็สามารถเสริมด้วยเอนไซม์ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลรบกวนกับการรักษาด้วยยา แต่เอนไซต์จะเป็นผู้ช่วยตับในการกำจัดสารเคมีที่เป็นพิษต่อตับออกจากระบบร่างกายได้ด้วย


กล้อง Darkfield microscope นับว่าเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ทั่วโลก ที่ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคต่างๆได้อย่างรวดเร็ว และผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันเวลา ใครที่สนใจอยากได้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจเลือดหรือทำความรู้จักกับกล้อง”มหัศจรรย์”ให้มากขึ้น



โดย ผู้จัดการออนไลน์
29 กันยายน 2548 15:27 น

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การมีเอนไซม์บกพร่อง (Enzyme Deficiency)เกิดจากหลายสาเหตุ

การมีเอนไซม์บกพร่อง (Enzyme Deficiency) เกิดจากหลายสาเหตุ

1. ถ้าทุกคนกินอาหารที่ปรุงแต่งอย่างปัจจุบันต้องมีปัญหาการขาดเอนไซม์

Dr. Dick Couey อาจารย์โภชนาการของBayloy University กล่าวว่า ในปัจจุบันพวกเรากินอาหารที่ไม่มีเอนไซม์ เพราะเป็นอาหารปรุงสำเร็จ (Processed) หรือ เอามาหุงต้ม (Cooked) ทำให้เอนไซม์ในอาหารถูกทำลาย ดร. คูอี้ได้ย้ำว่า ตนเองจะไม่กินอาหารอีกถ้าไม่มีเอนไซม์เสริมมากินร่วมด้วย (I will never eat another meal without taking a plant enzyme supplement)
ตามทฤษฎี ร่างกายต้องใช้เอนไซม์ย่อยอาหาร (Digestive Enzyme) เพื่อย่อยอาหาร ถ้ามีเอนไซม์จากอาหาร (Food Enzyme) มาเสริมด้วยกัน จะช่วยย่อยได้ครึ่งหนึ่ง แต่อาหารที่กินในยุคสมัยนี้ไม่มีเอนไซม์ตามธรรมชาติ เพราะถูกทำลายจากการหุงต้ม
ดังนั้นร่างกายจึงต้องไปดึงเอาเมตาบอลิค เอนไซม์ มาเปลี่ยนโฉมให้เป็นเอนไซม์ย่อยอาหาร ถ้าทำบ่อยๆจะมีระดับเอนไซม์ (เมตาบอลิค) บกพร่อง และเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ

2. ธรรมชาติสร้างตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme Inhibition) ไว้กับพืช
พืชซึ่งมนุษย์ใช้กินทุกชนิด มีเอนไซม์ทำการย่อยอาหารอยู่ในตัวของมันเอง มีตัวห้ามหรือตัวยับยั้งเอนไซม์ ยังไม่ยอมให้ทำงานจนถึงเวลาอันควร เช่นเมื่อผลไม้ต้องสุกตามฤดูกาล โดยปกติตัวห้ามเหล่านี้จะเริ่มอ่อนแรงหรือหมดสภาพ ก็โดยสิ่งแวดล้อมรอบตัวมันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เมื่อเราเคี้ยวอาหารในปากก็คือ เรากำลังทำให้สภาวะเดิมรอบข้างของตัวห้ามเปลี่ยนไปจนตัวห้ามหยุดทำงาน ทำให้เอนไซม์ในอาหารเป็นอิสระ เพราะไม่มีอะไรมายับยั้ง
แต่อย่างไรก็ดี ตัวห้ามก็ยังมีจำนวนสูงอยู่มากในพืชบางระยะของการเจริญเติบโต เช่น ยอดใบไม้ ยอดผัก พืชยังอ่อน เป็นต้น ในบางกรณี ท่านอาจกินอาหารประเภทยอดผักอ่อนสดๆ ท่านก็จะกินตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme Inhibitor) เข้าไปมากจนพลอยเข้าไปห้ามการทำงานของเอนไซม์ที่ผลิตออกจากตับอ่อนของตัวท่านเองเข้าไปด้วย กลายเป็นมีเอนไซม์ ติดลบ ทางเลือกที่หนึ่งคือท่านอาจจะต้องกินเอนไซม์เสริมชดเชย
ทางเลือกที่สองคือ เอายอดผักมาต้ม เพื่อจะให้ความร้อนทำลายตัวห้าม (Inhibitor) แต่ก็จะพลอยทำลายเอนไซม์จากพืชซึ่งเป็นอาหาร (Food Enzyme) พร้อมกันไปเลยด้วย

3. อายุมากขึ้น การผลิตเอนไซม์ของร่างกายลดลง ในสหรัฐอเมริกา นักวิทยาศาสตร์โรงพยาบาลไมเคิล รีส รัฐชิคาโก ได้ทำการวิจัยหาค่าของเอนไซม์อไมเลส (Amylase) ในน้ำลายจากคน 2 กลุ่มอายุด้วยกัน คือ กลุ่มหนุ่มสาว (21-31 ปี) กับกลุ่มคนชรา (69-100 ปี) พบว่า กลุ่มหนุ่มสาวมีเอนไซม์อไมเลสซึ่งใช้ย่อยอาหารประเภทแป้ง มากเป็น 30 เท่าของกลุ่มผู้สูงอายุ
นี่คือเหตุผลที่ว่าเมื่ออยู่ในวัยหนุ่มสาว กินอาหารประเภทสำเร็จรูป และ อาหารฟาสต์ฟู้ด (Fast Food) โดยไม่มีปัญหาการย่อย ไม่มีทางเจ็บป่วย แต่เมื่อแก่ตัว เอนไซม์ลดลง จะย่อยอาหารต่างๆ ได้ลำบาก ทำให้มีอาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง และถ้าพฤติกรรมการบริโภคยังเป็นอยู่อย่างนี้ (Poor Eating Habits) ท่านอาจแก่ตัวเร็วกว่าเพื่อนๆ ของท่านได้

4.มีสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้การย่อยอาหาร (Digestion) บกพร่อง วิธีง่ายๆในการแก้ไขคือ ให้กินเอนไซม์ที่ผลิตมาจากพืชจะทำให้อาการกระเพาะและลำไส้แปรปรวนทุเลาลงได้ ถ้าศึกษาย้อนกลับไปหาสาเหตุก็คือ การย่อยอาหารไม่ดี การมีสารพิษ (Toxins) เนื่องจากมีกากอาหารที่ไม่ย่อย หมักหมนอยู่ในลำไส้ใหญ่
ซึ่งอาการต่างๆดังกล่าว เชื่อว่าการกินเอนไซม์เสริมชนิดช่วยย่อยจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด