วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551

เอนไซม์กับโรคเอดส์


มีผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี (HIV) ซึ่งเป็นไวรัสของโรคประมาณ 33 ล้านคนทั่วโลก Dr.John Kaiser ซึ่งมีชื่อเสียงได้รักษาผู้ติดเชื้อ ได้รายงานต่อที่ประชุมใหญ่ว่า
ผลการรักษาผู้ป่วยเอดส์โดยใช้ยา ซึ่งมีเอนไซม์โปรตีเอสนี้ ได้พิสูจน์ว่ามีผลดีในการกำจัดเชื้อไวรัสเอดส์ และทำให้ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยฟื้นตัวขึ้น
ยานี้ชื่อ “ABT- 538” สามารถที่จะหยุดการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสได้ถึงร้อยละ 99 ทีเดียว ได้ผลดีมากกว่ายา (AZT) ซึ่งเป็นยารักษาเอดส์ในปัจจุบัน (พ.ศ.2546) ที่ถือว่าดีที่สุดถึง 10 เท่า โดยดูจากการหยุดการแบ่งตัวของไวรัสเป็นตัววัด (จาก American Medical Association Report 1998)
อธิบายตามหลักทฤษฎีว่า เอนไซม์โปรตีเอสบางชนิดจะย่อยโปรตีนที่ห่อเชื้อไวรัส HIV ทำให้เชื้อไวรัส HIV ไม่มีที่หลบซ่อนจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย เนื่องจากเอนไซม์โปรตีเอสชนิดหนึ่ง (เป็นกลุ่มย่อย Sub-group) ก็จะย่อยตรงกับกรดอะมิโนชนิดหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น ถ้าเราใช้เอนไซม์ให้ตรงกับกรดอะมิโนที่หุ้มตัวไวรัส (Protein Film) ได้ ก็จะทำให้เปลือกหุ้มไวรัสถูกย่อยจนขาดออก ไม่สามารถเป็นกำแพงกั้นเชื้อ เอช ไอ วี จากภูมิคุ้มกันของร่างกายได้อีกต่อไป

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

การขาดเอนไซม์มีผลเสียต่อสุขภาพ


การขาดเอนไซม์ไลเปสมีผลเสียต่อสุขภาพ
การขาดเอนไซม์ไลเปส คือไขมันชนิดโคเลสเตอรอลสูงในเลือด (High Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือด (High Triglyceride) ทำให้ลดน้ำหนักตัวยาก มักเป็นโรคเบาหวานชนิดผู้ใหญ่ (Diabetes Mellitus –Adult Type) และมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคหัวใจ (Heart Disease)
การขาดเอนไซม์ไลเปสย่อยอาหาร ร่างกายจึงขาดกรดไขมัน (Fatty Acid) ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญ การดูดซึมของสารอาหารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ยาก สารพิษ (Toxins) ที่อยู่ในเซลล์ ก็ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ออกมายาก ก่อให้เกิดความเสื่อมกับเซลล์


ผู้ที่มักอ่อนเพลียเรื้อรังพบว่ามีเอนไซม์ไลเปสต่ำในเลือด
การขาดเอนไซม์ไลเปสทำให้สารอาหารที่สำคัญทุกชนิดผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrance) เข้าเซลล์ยากและของเสียจากในเซลล์ก็ออกไม่ได้ คนป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome)
มีผู้รายงานว่า การใช้เอนไซม์ไลเปสร่วมกับเอนไซม์โปรตีเอส กินระหว่างท้องว่างคือ ระหว่างอาหาร จะช่วยทำให้อาการต่างๆ ดีขึ้น


กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
อาการที่พบเสมอถ้าร่างกายบกพร่องในเอนไซม์ไลเปสคือ “กล้ามเนื้อเป็นตะคริว” ซึ่งต่างกับกล้ามเนื้อชักกระตุก (Tetany) ซึ่งอย่างหลังเกิดจากการขาดเกลือแร่ แคลเซียม เมื่อตะคริวจับจะปวดกล้ามเนื้อ จุดที่เริ่มเป็นส่วนมากจะเริ่มจากไหล่ บางครั้งจะปวดต้นคอ ถ้าเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อลำไส้จะมีอาการปวดท้อง ซึ่งพบบ่อยๆ คือ ตะคริวที่ลำไส้ใหญ่ (Spastic Colon) การกินเอนไซม์เสริม อาการต่างๆ ดังกล่าวทุเลาขึ้น

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

“กล้องตรวจเลือดมหัศจรรย์”ส่องปุ๊บ-รู้โรคปั๊บ



การเจาะเลือด” เพื่อตรวจหาโรคต่างๆ เป็นวิธีที่โรงพยาบาลต่างๆนิยมทำกันมา โดยอาจต้องใช้เวลานานถึง 3-4 วัน จึงจะรู้ผล ทำให้การักษาเกิดความล่าช้า และไม่ทันใจผู้ป่วย ในวันนี้วงการแพทย์ได้ก้าวระดับไปอีกขั้น เมื่อมี”กล้องมหัศจรรย์”ที่สามารถตรวจดูลักษณะของเม็ดเลือดและบอกความผิดปกติที่อาจนำไปสู่โรคต่างๆได้ทันที


กล้อง Darkfield microscope เป็นกล้องชนิดพิเศษ ที่บริษัท แปซิฟิค ไบโอเทค จำกัด นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา และเริ่มทดลองใช้ครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปลายปี 2547 โดย ”กล้องมหัศจรรย์” จะสามารถตรวจดูรูปร่างและลักษณะอื่นๆของเม็ดเลือดในแต่ละบุคคล ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ สามารถตรวจสอบถึงความผิดปกติของระบบการย่อยอาหาร และภาวะโภชนาการของแต่ละบุคคล ความผิดปกติดังกล่าวจะรวมไปถึงลักษณะบางอย่างที่ไม่สามารถพบได้ จากการใช้วิธีวิเคราะห์เลือดทั่วๆไป ซึ่งเป็นการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในกระแสเลือด โดยการปั่นเหวี่ยง และแยกองค์ประกอบของเลือด


ในการตรวจสอบเม็ดเลือดสด จะสามารถตรวจพบความผิดปกติของระบบการย่อยอาหาร และภาวะโภชนาการที่บกพร่อง ก่อนที่การตรวจเลือดตามวิธีทั่วๆ ไปที่ตรวจในด้านการเปลี่ยนแปลงของสารเคมี โดยปกติแล้วการรักษาหลังจากการตรวจด้วยกล้องพิเศษนี้ จะประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัญหาต่างๆ จะถูกค้นพบก่อนที่จะเข้าสู่สภาวะการก่อโรคที่ร้ายแรง โดยผู้ป่วยจะสามารถเห็นถึงความแตกต่างระหว่างร่างกายที่มีพลังของสุขภาพที่ดี กับความรู้สึกที่ย่ำแย่ ในสภาพที่ไม่ควรจะเป็น โดยการตรวจสุขภาพเม็ดเลือด ภายใต้พื้นฉากดำของกล้องชนิดพิเศษ


ทั้งนี้ เมื่อเม็ดเลือดของผู้ป่วยเกิดความผิดปกติ ก็สามารถเสริมด้วยเอนไซม์ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลรบกวนกับการรักษาด้วยยา แต่เอนไซต์จะเป็นผู้ช่วยตับในการกำจัดสารเคมีที่เป็นพิษต่อตับออกจากระบบร่างกายได้ด้วย


กล้อง Darkfield microscope นับว่าเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ทั่วโลก ที่ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคต่างๆได้อย่างรวดเร็ว และผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันเวลา ใครที่สนใจอยากได้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจเลือดหรือทำความรู้จักกับกล้อง”มหัศจรรย์”ให้มากขึ้น



โดย ผู้จัดการออนไลน์
29 กันยายน 2548 15:27 น

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การมีเอนไซม์บกพร่อง (Enzyme Deficiency)เกิดจากหลายสาเหตุ

การมีเอนไซม์บกพร่อง (Enzyme Deficiency) เกิดจากหลายสาเหตุ

1. ถ้าทุกคนกินอาหารที่ปรุงแต่งอย่างปัจจุบันต้องมีปัญหาการขาดเอนไซม์

Dr. Dick Couey อาจารย์โภชนาการของBayloy University กล่าวว่า ในปัจจุบันพวกเรากินอาหารที่ไม่มีเอนไซม์ เพราะเป็นอาหารปรุงสำเร็จ (Processed) หรือ เอามาหุงต้ม (Cooked) ทำให้เอนไซม์ในอาหารถูกทำลาย ดร. คูอี้ได้ย้ำว่า ตนเองจะไม่กินอาหารอีกถ้าไม่มีเอนไซม์เสริมมากินร่วมด้วย (I will never eat another meal without taking a plant enzyme supplement)
ตามทฤษฎี ร่างกายต้องใช้เอนไซม์ย่อยอาหาร (Digestive Enzyme) เพื่อย่อยอาหาร ถ้ามีเอนไซม์จากอาหาร (Food Enzyme) มาเสริมด้วยกัน จะช่วยย่อยได้ครึ่งหนึ่ง แต่อาหารที่กินในยุคสมัยนี้ไม่มีเอนไซม์ตามธรรมชาติ เพราะถูกทำลายจากการหุงต้ม
ดังนั้นร่างกายจึงต้องไปดึงเอาเมตาบอลิค เอนไซม์ มาเปลี่ยนโฉมให้เป็นเอนไซม์ย่อยอาหาร ถ้าทำบ่อยๆจะมีระดับเอนไซม์ (เมตาบอลิค) บกพร่อง และเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ

2. ธรรมชาติสร้างตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme Inhibition) ไว้กับพืช
พืชซึ่งมนุษย์ใช้กินทุกชนิด มีเอนไซม์ทำการย่อยอาหารอยู่ในตัวของมันเอง มีตัวห้ามหรือตัวยับยั้งเอนไซม์ ยังไม่ยอมให้ทำงานจนถึงเวลาอันควร เช่นเมื่อผลไม้ต้องสุกตามฤดูกาล โดยปกติตัวห้ามเหล่านี้จะเริ่มอ่อนแรงหรือหมดสภาพ ก็โดยสิ่งแวดล้อมรอบตัวมันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เมื่อเราเคี้ยวอาหารในปากก็คือ เรากำลังทำให้สภาวะเดิมรอบข้างของตัวห้ามเปลี่ยนไปจนตัวห้ามหยุดทำงาน ทำให้เอนไซม์ในอาหารเป็นอิสระ เพราะไม่มีอะไรมายับยั้ง
แต่อย่างไรก็ดี ตัวห้ามก็ยังมีจำนวนสูงอยู่มากในพืชบางระยะของการเจริญเติบโต เช่น ยอดใบไม้ ยอดผัก พืชยังอ่อน เป็นต้น ในบางกรณี ท่านอาจกินอาหารประเภทยอดผักอ่อนสดๆ ท่านก็จะกินตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme Inhibitor) เข้าไปมากจนพลอยเข้าไปห้ามการทำงานของเอนไซม์ที่ผลิตออกจากตับอ่อนของตัวท่านเองเข้าไปด้วย กลายเป็นมีเอนไซม์ ติดลบ ทางเลือกที่หนึ่งคือท่านอาจจะต้องกินเอนไซม์เสริมชดเชย
ทางเลือกที่สองคือ เอายอดผักมาต้ม เพื่อจะให้ความร้อนทำลายตัวห้าม (Inhibitor) แต่ก็จะพลอยทำลายเอนไซม์จากพืชซึ่งเป็นอาหาร (Food Enzyme) พร้อมกันไปเลยด้วย

3. อายุมากขึ้น การผลิตเอนไซม์ของร่างกายลดลง ในสหรัฐอเมริกา นักวิทยาศาสตร์โรงพยาบาลไมเคิล รีส รัฐชิคาโก ได้ทำการวิจัยหาค่าของเอนไซม์อไมเลส (Amylase) ในน้ำลายจากคน 2 กลุ่มอายุด้วยกัน คือ กลุ่มหนุ่มสาว (21-31 ปี) กับกลุ่มคนชรา (69-100 ปี) พบว่า กลุ่มหนุ่มสาวมีเอนไซม์อไมเลสซึ่งใช้ย่อยอาหารประเภทแป้ง มากเป็น 30 เท่าของกลุ่มผู้สูงอายุ
นี่คือเหตุผลที่ว่าเมื่ออยู่ในวัยหนุ่มสาว กินอาหารประเภทสำเร็จรูป และ อาหารฟาสต์ฟู้ด (Fast Food) โดยไม่มีปัญหาการย่อย ไม่มีทางเจ็บป่วย แต่เมื่อแก่ตัว เอนไซม์ลดลง จะย่อยอาหารต่างๆ ได้ลำบาก ทำให้มีอาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง และถ้าพฤติกรรมการบริโภคยังเป็นอยู่อย่างนี้ (Poor Eating Habits) ท่านอาจแก่ตัวเร็วกว่าเพื่อนๆ ของท่านได้

4.มีสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้การย่อยอาหาร (Digestion) บกพร่อง วิธีง่ายๆในการแก้ไขคือ ให้กินเอนไซม์ที่ผลิตมาจากพืชจะทำให้อาการกระเพาะและลำไส้แปรปรวนทุเลาลงได้ ถ้าศึกษาย้อนกลับไปหาสาเหตุก็คือ การย่อยอาหารไม่ดี การมีสารพิษ (Toxins) เนื่องจากมีกากอาหารที่ไม่ย่อย หมักหมนอยู่ในลำไส้ใหญ่
ซึ่งอาการต่างๆดังกล่าว เชื่อว่าการกินเอนไซม์เสริมชนิดช่วยย่อยจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เอนไซม์กับระบบภูมิคุ้มกันโรค


Journal of Longevity Research Vol.1/No.5 ค.ศ.1995 Dr. Anthony Lopez ได้เขียนบทความเสนอแนะว่า การใช้เอนไซม์เสริมในอาหารจะให้ประโยชน์กับสุขภาพ มีความสำคัญกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพราะเอนไซม์เป็นตัวหลักของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต้องมีในทุกเซลล์เพื่อซ่อมแซม รักษาการที่กล่าวว่า เอนไซม์เป็นหลักของระบบต้านทานโรค ต่อต้านอนุมูลอิสระ เช่น ซูเปอร์ออกไซด์ ดีสมิวเตส (Superoxide Dismutase),กลูตาธิโอน เปอร์ออกซิเดส (Glutathione Peroxidase), คาทาเลส (Catalase)ฯลฯ คอยทำหน้าที่เสาะหาและทำลายอนุมูลอิสระ (Free Radical) ซึ่งเป็นตัวป่วนที่ทำลายให้เซลล์เสื่อม โดยเฉพาะไปโจมตีบริเวณผนังเยื่อหุ้มเซลล์ และดีเอนเอ (DNA) ซึ่งอยู่ภายในเซลล์ให้ผิดเพี้ยนไปจนอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้จากวารสารการวิจัยฉบับหนึ่ง (Journal of Longevity Research 1996 Vol.2/No.3) Dr.James Privitera ได้รายงานถึงการใช้เอนไซม์บำบัดว่าได้ผลดีในการรักษาบาดแผล เอนไซม์จะกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ ทำให้แผลหายเร็ว และเอนไซม์ยังทำให้รอยแผลเป็น (Scar) เกิดน้อยมากอีกด้วย ดร.ไพรวิเทอรา เขียนสรุปไว้ว่า เมื่อได้รับบาดเจ็บหรือมีบาดแผล การใช้เอนไซม์เสริมร่วมด้วยจะเป็นวิธีที่ดีในการรักษา เพราะเอนไซม์จะเร่งการหายของแผลและการบาดเจ็บ

วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เอนไซม์กับโรคอ้วน



• เอนไซม์ไลเปส (Lipase) มีหน้าที่ย่อยไขมันและวิตามินที่ละลายในไขมัน เป็นเอนไซม์ที่สำคัญ ควบคุมน้ำหนักโดยเฉพาะ Dr.Galton, Tufts University ได้สรุปยืนยันว่า “คนอ้วนมากเพราะร่างกายขาดเอนไซม์ไลเปส” ไขมันย่อยยากที่สุด
• การกินเอนไซม์เสริมหรือ การกินอาหารสดที่อุดมด้วยเอนไซม์ ช่วยลดความเหน็ดเหนื่อยของตับอ่อนที่ไม่ต้องเร่งผลิตเอนไซม์ไลเปส จนบางครั้งตับอ่อนจะบวมโตกว่าปกติเพราะต้องทำงานหนักเกินไป ตับอ่อน (Pancreas) และตับ (Liver)
• เอนไซม์ไลเปสช่วยคุมน้ำหนักอีกด้วย ควบคุมไขมันชนิดโคเลสเตอรอล (Cholesterol)และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ทำให้สารอาหารทั้ง 2 ซึ่งไหลเวียนในเลือดมีปริมาณลดลงจึงไม่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (Atherosclerosis) อันเป็นต้นเหตุสำคัญของโรคหัวใจ (Heart Disease)หรือ โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เอนไซม์กับระบบไหลเวียนของโลหิต



• Dr. Max Wolf ชาวเยอรมัน Fordham Universityได้รายงานผลการทดลองใช้เอนไซม์กับคนไข้ 347 คน ที่เจ็บป่วยกับระบบไหลเวียนของโลหิต (Circulatory Disorder) พบว่า ร้อยละ 87 ของผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติหายสนิท หรือดีขึ้นมากภายหลังกินเอนไซม์เสริม
• ดร.วูฟ กับ ดร.คาล แรส เบอเกอร์ (Dr. Karl Ransberger) ยังได้ทดลองใช้เอนไซม์รักษาคนไข้ที่เป็นโรคมะเร็ง โรคจากการติดเชื้อไวรัส และโรคแห่งความเสื่อมของระบบประสาท (Multiple Sclerosis) รายงานไว้ว่าได้ผลดี (Successfully Treat)
• Dr. H. Dench แพทย์ชาวออสเตรีย ได้ใช้เอนไซม์รักษาคนไข้ที่มีเลือดจับเป็นก้อน (Blood Clot) พบว่า ร้อยละ 93 ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
• Dr. Karl Maehder ชาวเยอรมันรายงานผลการรักษาคนไข้ 218 คนที่เป็นโรคเส้นโลหิตดำขอด อักเสบและบวม (Varicose Vein Disorder) โดยให้คนไข้กินเอนไซม์ ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละถึง 94 ที่หายสนิทหรือดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
บทความในหนังสือ U S A Weekend (2 ตุลาคม 1998) ซึ่งมีนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Harvard ได้พูดถึงเรื่องสาเหตุที่เอนไซม์สามารถป้องกันการผิดปกติของระบบไหลเวียนของโลหิตได้
เพราะมีเอนไซม์ชนิดหนึ่ง เมื่อทำงานร่วมกับ วิตามิน บี 6 บี 12 และกรด โฟลิค (Folic Acid) สามารถจะทำลายสารเคมี ชื่อ โฮโมซิสทีน (Homocysteine) ซึ่งสารนี้อันตรายมาก เป็นตัวทำให้หลอดเลือดแดง (Arteries) พิการ แข็งตัวจากการอักเสบจนเป็นอุปสรรคต่อการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เกิดโรคหัวใจ (Heart Attack) และโรคลมปัจจุบัน (stroke) ตามมาได้

วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ผลการศึกษาเอนไซม์กับโรคมะเร็ง

เอนไซม์กับโรคมะเร็ง
• ใน พ.ศ.2454 Dr. John Beard ได้รายงานถึงผลสำเร็จของการใช้เอนไซม์รักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ อีกประมาณ 80 ปีต่อมาคือ ใน พ.ศ.2530 Dr. Gonzalez ได้รักษาคนไข้โรคมะเร็งโดยใช้เอนไซม์บำบัด ซึ่งสถาบันมะเร็งแห่งชาติของอเมริกา (National Cancer Institute) ได้เชิญให้เสนอผลงานสรุปรักษาคนไข้ผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านม (Breast Cancer) และมะเร็งได้กระจายไปยังสมอง (Brain) และตับ (Liver) คนไข้ได้รับการรักษาโดยใช้เอนไซม์เป็นหลัก ปรากฎว่ามะเร็งหายไป (The Cancers went away)
• นอกจากนั้น คนไข้อีกหลายรายที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ทุกคนอาการดีขึ้น มะเร็งลดความรุนแรงลง (Remission) สถาบันมะเร็งแห่งชาติได้มอบเงินทุนวิจัย 1.4 ล้านเหรียญสหรัฐแก่ ดร.กอนซาเลซ เพื่อศึกษาและค้นคว้าการใช้เอนไซม์รักษาโรคมะเร็งในเชิงวิจัยเปรียบเทียบตามหลักทางสถิติต่อไป

วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ธรรมชาติไม่ได้ให้เอนไซม์มากับร่างกายจนฟุ่มเฟือย

•นักชีวเคมีเชื่อว่า เอนไซม์ที่ผลิตขึ้นในร่างกายแต่ละคนมีจำนวนจำกัด ดังนั้นต้องประหยัดเอนไซม์ ให้มีไว้ใช้นานที่สุด ถ้าต้องการมีอายุยาวและสุขภาพดี
•เอนไซม์ที่สำคัญที่สุดคือ เมตาบอลิค เอนไซม์(Metabolic Enzyme) ซึ่งสำคัญในการซ่อมแซมและสร้างเซลล์ของร่างกาย ต้านทานโรค ป้องกันความเสื่อมโทรม
•ถ้าเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายต้องดึงเมตาบอลิค เอนไซม์ ทำให้หมดเปลือง
•พลังของชีวิต (Life Force) จึงบกพร่องและไม่เพียงพอ เป็นอันตรายต่อชีวิตได้โดยง่าย

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การเจริญสมัยใหม่ คือ ยุคแห่งการเกิดมะเร็ง

อาหารสำเร็จรูป (Processed Food) เริ่มมีในเชิงอุตสาหกรรมครั้งแรก ใน ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2473) ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โรคสุขภาพเสื่อมเรื้อรังก็เพิ่มเคียงคู่มากับการนิยมกินอาหารสำเร็จรูป เห็นได้ชัดที่สุด คือ โรคมะเร็ง เมื่อก่อน ค.ศ. 1930 มีน้อยมากแต่ปัจจุบันนี้มีอัตราตายเป็นอันดับ 2 ของสหรัฐ อันดับ 4 ของประเทศไทย ถ้าเรากลับไปกินอาหารอย่างที่เคยในอดีตได้ ปัญหามะเร็งคงจะลดลงได้อย่างมาก

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เอนไซม์ที่อยู่ในเลือดจะทำหน้าที่กวาดขยะในเลือด


เอนไซม์ที่อยู่ในเลือดจะทำหน้าที่กวาดขยะในเลือด (Scavenger Enzyme)

• การใช้เอนไซม์โปรตีเอสเป็นอาหารเสริม ทำให้เลือดสะอาดปราศจากขยะอาหาร เรียกว่า “เอนไซม์กวาดขยะ”
• เอนไซม์โปรตีเอสนี้จะย่อยเฉพาะโปรตีนที่ไม่มีชีวิต จะย่อยเยื่อหุ้มแบคทีเรียที่เป็นโปรตีน ทำให้แบคทีเรียตายได้ ไวรัสย่อมอยู่ไม่ได้เช่นกัน
• ดังนั้นการขาดหรือบกพร่องเอนไซม์โปรตีเอสในเลือดจึงทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง
• เอนไซม์โปรตีเอสเมื่อกินเวลากระเพาะว่าง สามารถซึมเข้ากระแสเลือดได้ใน 5 นาที และจะไปจับกับโปรตีนชนิดก้อนในเลือด (Alpha 2 Macroglobulin) กลายเป็นสารประกอบเชิงซ้อน
• ขณะที่ผ่านกระเพาะอาหารจะไม่ถูกทำลายหรือถูกย่อยโดย เปบซินและกรดเกลือในกระเพาะเหมือนที่เคยเชื่อกัน เมื่ออยู่ในกระแสโลหิตทำหน้าที่กวาดขยะ (Scavenger) ทำให้รักษาโรคอันเกิดจาการติดเชื้อ (Infection) มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การขาดเอนไซม์ไลเปสในเลือดทำให้มีปัญหาด้านสุขภาพ

การขาดเอนไซม์ไลเปสในเลือดทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ
โดยเฉพาะในโรคระบบหมุนเวียนของเลือด (Circulatory Disease) เช่นความดันโลหิตสูง หลอดเลือดตีบตัน ฯลฯ
เอนไซม์ไลเปสมีหน้าที่ย่อยไขมัน นอกจากย่อยภายในลำไส้ในฐานะ Digestive Enzyme แล้ว ยังย่อยไขมันตลอดทั้งร่างกายในรูปของเมตาบอลิค เอนไซม์ โดยเฉพาะในกระแสโลหิต จะไปย่อยไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือด สำหรับไขมันที่ย่อยไม่สมบูรณ์จากลำไส้เล็กเพราะเอนไซม์ไลเปสบกพร่อง อาจถูกดูดซึมผ่านเข้ามาในกระแสโลหิตก็จะเป็นไขมันที่ด้อยคุณภาพก่อให้เกิดโรคได้เมื่อร่างกายนำเอาไปใช้


โรคขาดวิตามินชนิดละลายไขมัน
เอนไซม์ไลเปสที่บกพร่อง ทำให้เกิดปัญหาในการนำวิตามินชนิดละลายในไขมัน (Fat Soluble Vitamin) ออกมาใช้ เพราะไขมันย่อยไม่ได้ จะทำให้เกิดโรคขาดวิตามินชนิดละลายในไขมันตามมาด้วย (Fat Soluble Vitamin Deficiency)
วิตามินที่ต้องละลายในไขมัน คือ วิตามินเอ ดี อี และเค (Vitamin A, D, E, K)

การขาดเอนไซม์ไลเปสมีผลเสียต่อสุขภาพ
การขาดเอนไซม์ไลเปส คือไขมันชนิดโคเลสเตอรอลสูงในเลือด (High Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือด (High Triglyceride) ทำให้ลดน้ำหนักตัวยาก
มักเป็นโรคเบาหวานชนิดผู้ใหญ่ (Diabetes Mellitus –Adult Type) และมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคหัวใจ (Heart Disease)
การขาดเอนไซม์ไลเปสย่อยอาหาร ร่างกายจึงขาดกรดไขมัน (Fatty Acid) ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญ การดูดซึมของสารอาหารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ยาก สารพิษ (Toxins) ที่อยู่ในเซลล์ ก็ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ออกมายาก ก่อให้เกิดความเสื่อมกับเซลล์

ผู้ที่มักอ่อนเพลียเรื้อรังพบว่ามีเอนไซม์ไลเปสต่ำในเลือด
การขาดเอนไซม์ไลเปสทำให้สารอาหารที่สำคัญทุกชนิดผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrance) เข้าเซลล์ยากและของเสียจากในเซลล์ก็ออกไม่ได้
คนป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome)
มีผู้รายงานว่า การใช้เอนไซม์ไลเปสร่วมกับเอนไซม์โปรตีเอส กินระหว่างท้องว่างคือ ระหว่างอาหาร จะช่วยทำให้อาการต่างๆ ดีขึ้น

กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
อาการที่พบเสมอถ้าร่างกายบกพร่องในเอนไซม์ไลเปสคือ “กล้ามเนื้อเป็นตะคริว” ซึ่งต่างกับกล้ามเนื้อชักกระตุก (Tetany) ซึ่งอย่างหลังเกิดจากการขาดเกลือแร่ แคลเซียม เมื่อตะคริวจับจะปวดกล้ามเนื้อ จุดที่เริ่มเป็นส่วนมากจะเริ่มจากไหล่ บางครั้งจะปวดต้นคอ ถ้าเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อลำไส้จะมีอาการปวดท้อง ซึ่งพบบ่อยๆ คือ ตะคริวที่ลำไส้ใหญ่ (Spastic Colon) การกินเอนไซม์เสริม อาการต่างๆ ดังกล่าวทุเลาขึ้น

โรคเวียนศีรษะบางชนิด (Meniere’s Disease)
อาการอีกอย่างจากการขาดเอนไซม์ไลเปสคือ
วิงเวียน (Meniere’s Disease) บางครั้งอาจจะรู้สึกอยากอาเจียน หากคนป่วยกินเอนไซม์ที่มีเอนไซม์ไลเปสร่วมกับวิตามินบี 1 บี 6 บี 12 ในขณะท้องว่าง พบว่าอาการทุเลารวดเร็วมาก


วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เอนไซม์ช่วยให้อายุยืนได้ถึง120 ปี


ถ้าท่านมีเอนไซม์สมบูรณ์อายุอยู่ได้ถึง 120 ปี
•เพราะเซลล์ในร่างกายสามารถแบ่งตัวได้ตามกำหนดของโปรแกรมในนาฬิกาชีวิต
•ถ้าเอนไซม์ในร่างกายมีระดับต่ำ (Low Enzyme Level) โอกาสที่ท่านจะป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เกิดได้ง่ายมาก
•ในหนังสือ“เอนไซม์ในอาหาร”(Food Enzyme) มีความตอนหนึ่งว่า สุขภาพ (Health) คือ ปฏิกิริยาเคมีของเอนไซม์ที่บูรณาการ (Integrate) เข้าด้วยกันอย่างมีระบบ จึงทำให้ทุกเซลล์ของร่างกายดำเนินไปอย่างปกติสุข

การอดอาหารเป็นวิธีการประหยัดเอนไซม์ที่น่าศึกษา


การอดอาหารเป็นวิธีการประหยัด เอนไซม์ที่น่าสนใจศึกษา
•นักวิทยาศาสตร์บางท่านเชื่อว่า ถ้าลดจำนวนอาหารลง จะไม่สิ้นเปลืองเอนไซม์ (ที่จะมาใช้ย่อยอาหาร) ซึ่งก็คือเราจะตายช้าลง เพราะเมตาบอลิค เอนไซม์จะเพิ่มขึ้น ไม่ต้องไปช่วยย่อยอาหารสามารถนำไปซ่อมแซมร่างกายให้แข็งแรง
•ตัวอย่างง่ายๆ คือ ให้สังเกตสัตว์เลี้ยงเช่น แมว เวลาป่วยมันจะหยุดกินอาหารและพยายามออกไปกินต้นหญ้าบางอย่าง สัตว์มีสัญชาติญาณที่จะประหยัดเอนไซม์
•ในศาสนาต่างๆ ศาสดาผู้ให้กำเนิดศาสนามาตั้งหลายพันปี เป็นผู้ที่มีความฉลาดเป็นเลิศ เช่น
•ศาสนาพุทธให้พระสงฆ์รับอาหารเพียงมื้อเช้าและมื้อเพลเท่านั้น งดอาหารตอนเย็น
•การถือศีลอดศาสนาอิสลามเป็นความยิ่งใหญ่ เมื่อไม่ต้องใช้เอนไซม์ย่อยอาหาร ทำให้เหลือไปสร้างเมตาบอลิค เอนไซม์ไว้ใช้ได้มากขึ้น
•คำสอนศาสนาอิสลามพบว่า มีประโยชน์อย่างสูงต่อสุขภาพอยู่หลายบท และบัญญัติไว้เป็นพันๆ ปี ก่อนที่มนุษย์จะรู้เรื่องเกี่ยวกับการสาธารณสุขเสียอีก

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เอนไซม์กับโปรตีนต้องอาศัยกันและกัน

เอนไซม์กับโปรตีนต้องอาศัยซึ่งกันและกัน
•เอนไซม์จะย่อยอาหารจนเป็นสารอาหารเชิงเดี่ยวเพื่อเซลล์ต่างๆนำไปใช้ได้ตามความต้องการของแต่ละอวัยวะ
•ลำดับต่อมาเมตาบอลิค เอนไซม์จะเปลี่ยนสารอาหารเป็นพลังงานเพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้
•เอนไซม์กับอาหารชนิดโปรตีนต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน เพราะจะย่อยโปรตีนให้เป็นโมเลกุลเล็กเชิงเดี่ยว คือกรดอะมิโน(Amino Acid) มาสร้างเอนไซม์ เพราะเอนไซม์คือโปรตีนชนิดหนึ่ง (Globular Protein) ถ้ามีเอนไซม์น้อยก็ไม่พอย่อยโปรตีน และถ้ามีโปรตีนน้อย ก็สร้างเอนไซม์ไม่พอ

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2551

อาการที่แสดงว่าร่างกายขาดเอนไซม์ (Enzyme Deficiency)

1.อาการที่ท่านรู้สึกด้วยตัวเอง (Symptom) ว่าท่านน่าจะขาดเอนไซม์ คือ
1.1. รู้สึกเหนื่อยหลังจากกินอาหารมื้อหนักๆ
1.2. อ่อนเพลียเป็นประจำ (Chronic Fatigue Syndrome)
1.3. ท้องผูก
1.4. ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ บางครั้งมีอาการจุกเสียด
1.5. ลมแน่นท้อง ผายลมมีกลิ่นเหม็น
1.6. อุจจาระจมน้ำ และอุจจาระเหม็นมาก
1.7. มีกลิ่นปาก
1.8. มีอาการของโรคภูมิแพ้ง่าย บางครั้งถึงขนาดหอบหืด
1.9. เวลาเป็นแผลจะหายช้า
1.10. น้ำหนักตัวเพิ่มง่าย


2.อาการที่แพทย์ตรวจพบ (Sign) ว่าท่านกำลังขาดเอนไซม์ คือ
2.1. ตับอ่อนบวม
2.2. เม็ดโลหิตขาวเพิ่มจำนวนมากกว่าปกติหลังกินอาหาร 30 นาที
2.3. น้ำลายมีฤทธิ์เป็นกรด (pH ต่ำกว่า 7)
2.4. ในปัสสาวะมีสารพิษมาก เกิดจากอาหารไม่ย่อยจึงบูดในลำไส้ใหญ่ ร่างกายจะดูดซึมพร้อมกับน้ำเข้าไปในกระแสเลือด ตับและไตจะกรองสารพิษเอาไว้ และจะขับสารพิษนี้ทิ้งออกทางปัสสาวะ
2.5. ระดับเอนไซม์ต่ำกว่าปกติในเลือด
2.6. ความดันโลหิตอาจสูงขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เอนไซม์กับส้มตำ แรงพลังแห่งชาวอีสาน

ส้มตำมะละกอมีประโยชน์กับชาวอีสาน
•ประชาชนทางภาคอีสานนิยมกินส้มตำมะละกอ จะได้ทั้งเอนไซม์ปาเปนและเอนไซม์ไคโมปาเปนเป็นเอนไซม์ช่วยย่อยโปรตีน รวมทั้งจะได้วิตามินซี วิตามินบี เบต้าแคโรตีน แคลเซียม โปแตสเซียม อาจีนีน(Arginine) ฯลฯ
•พี่น้องชาวอีสานมีความแข็งแรงและอดทนกว่าภาคอื่น สู้งานหนักได้ทุกอย่าง มะละกอดิบซึ่งมีคุณค่าทางอาหารอย่างน่ามหัศจรรย์ อาจมีส่วนร่วมในการสร้างระบบต่างๆ ในร่างกายของชาวอีสานให้เข้มแข็ง ก็เป็นได้

ประโยชน์จากเอนไซม์ในอาหารสด



เอนไซม์จากอาหารช่วยแบกภาระการย่อยอาหารได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์
เอนไซม์จากอาหาร คือเอนไซม์ที่อยู่ในอาหารสดที่เรากินอาหารนั้นเข้าไป ทำหน้าที่ย่อยอาหารในระยะก่อนการย่อยจริง (Predigest) ได้ถึงร้อยละ 50 และอีก 50 เปอร์เซ็นต์ จะถูกย่อยโดยเอนไซม์ของร่างกาย ถ้าในอาหารที่เรากินไม่มีเอนไซม์ เราต้องย่อยอาหารด้วยเอนไซม์ภายในตัวของเราเองทั้งหมด ทำให้สิ้นเปลื้องเอนไซม์เร็วขึ้น จะเกิดปัญหาสุขภาพเสื่อมโทรมก่อนอายุ
อาหารสดทุกชนิด (All Raw Food) ธรรมชาติกำหนดวงจรอาหารให้มีเอนไซม์อยู่ในอาหารสดทุกชนิดด้วยจำนวนที่เหมาะสมและสมดุลพอดี (Correct and Balanced Amount of Food Enzyme) สำหรับให้มนุษย์หรือสัตว์ได้ใช้กิน

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2551

น้ำอัดลมจะทำลายเอนไซม์ในอาหาร

น้ำอัดลมจะทำลายเอนไซม์ในอาหาร
เครื่องดื่มที่อัดแก๊สเพื่อให้เป็นฟองซ่า (Carbonated Beverage) เกิดคาบอเนต ทำลายเอนไซม์จากอาหาร (Food Enzyme) รวมทั้งเอนไซม์ย่อยอาหารของร่างกาย (Digestive Enzyme) จึงไม่ควรดื่มน้ำอัดลมพร้อมกับอาหารหรือหลังอาหาร เครื่องดื่มที่อัดแก๊สมีน้ำตาลกลูโคสสูง ซึ่งน้ำตาลเป็นอาหารที่ไม่มีเอนไซม์ (Dead Food) นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าน้ำอัดลมเป็นต้นเหตุหนึ่งของโรค เบาหวานและโรคอ้วน (Obesity) ท่านที่ต้องการลดความอ้วน สิ่งแรกคือ หยุดดื่มน้ำอัดลมทุกชนิดโดยทันที

การศึกษาผลกระทบของอาหารที่ถูกทำให้สุกต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยง


การศึกษาผลกระทบของอาหารที่ถูกทำให้สุกต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยง
Dr. Francis Pottengerได้ศึกษาทางโภชนาการที่สำคัญคือ ให้แมวกินอาหารซึ่งหุงต้มและปรุงแต่งอย่างมนุษย์กินอยู่ 3 ชั่วอายุของแมว ทั้งหมดใช้เวลา 10 ปี แมว 900 ตัว โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่กินอาหารดิบคือ นมดิบและเนื้อดิบ ซึ่งยังมีเอนไซม์กับอีกกลุ่มให้กินนมพาสเจอไรส์และเนื้อสุกซึ่งเอนไซม์ถูกทำลาย สำหรับกลุ่มหลังที่กินอาหารปราศจากเอนไซม์ เมื่อถึงลูกแมวรุ่นที่ 3 พบว่า เป็นโรค สุขภาพเสื่อมเรื้อรัง (Chronic Degenerative Disease) และอายุสั้นกว่าปกติ และรุ่นนี้จะเป็นหมันมาก ได้เปรียบเทียบกับแมวเลี้ยงโดยอาหารสด แมวรุ่นที่ 3 ก็จะยังแข็งแรง ไม่มีโรคสุขภาพเสื่อมเลย
สรุปว่าอาหารที่ปรุงแต่ง (Cooked Food) คือ ต้นเหตุที่ทำให้แมวเกิดโรคแห่งความเสื่อมดังกล่าว ซึ่งการค้นพบในแมวเอามาอธิบายในคนได้ถึงความเจ็บป่วยว่า ทำไมคนเรา ถึงมีการตายด้วยโรคหัวใจเป็นอันดับหนึ่งสัตว์เลี้ยงในบ้าน ควรหัดให้มันกินอาหารดิบ( Raw Food) ให้มากที่สุด
สัตว์ป่าจะกินอาหารดิบซึ่งอุดมด้วยเอนไซม์ จึงไม่มีการขาดเอนไซม์ ส่วนสัตว์ที่เลี้ยงในบ้าน มนุษย์มักจะให้กินอาหารสุกๆหรืออาหารกระป๋อง ซึ่งขาดเอนไซม์ ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ
กระดูกที่ต้มสุกจะย่อยยากเพราะขาดเอนไซม์ มีโอกาสทำอันตรายกับสัตว์เลี้ยงของท่าน อาจขวางทางเดินอาหาร และบางครั้งทิ่มลำไส้ทะลุได้

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การมีเอนไซม์บกพร่อง (Enzyme Deficiency) เกิดจากหลายสาเหตุ


การมีเอนไซม์บกพร่อง (Enzyme Deficiency) เกิดจากหลายสาเหตุ
1. ถ้าทุกคนกินอาหารที่ปรุงแต่งอย่างปัจจุบันต้องมีปัญหาการขาดเอนไซม์
Dr. Dick Couey อาจารย์โภชนาการของBayloy University กล่าวว่า ในปัจจุบันพวกเรากินอาหารที่ไม่มีเอนไซม์ เพราะเป็นอาหารปรุงสำเร็จ (Processed) หรือ เอามาหุงต้ม (Cooked) ทำให้เอนไซม์ในอาหารถูกทำลาย ดร. คูอี้ได้ย้ำว่า ตนเองจะไม่กินอาหารอีกถ้าไม่มีเอนไซม์เสริมมากินร่วมด้วย (I will never eat another meal without taking a plant enzyme supplement)
ตามทฤษฎี ร่างกายต้องใช้เอนไซม์ย่อยอาหาร (Digestive Enzyme) เพื่อย่อยอาหาร ถ้ามีเอนไซม์จากอาหาร (Food Enzyme) มาเสริมด้วยกัน จะช่วยย่อยได้ครึ่งหนึ่ง แต่อาหารที่กินในยุคสมัยนี้ไม่มีเอนไซม์ตามธรรมชาติ เพราะถูกทำลายจากการหุงต้ม
ดังนั้นร่างกายจึงต้องไปดึงเอาเมตาบอลิค เอนไซม์ มาเปลี่ยนโฉมให้เป็นเอนไซม์ย่อยอาหาร ถ้าทำบ่อยๆจะมีระดับเอนไซม์ (เมตาบอลิค) บกพร่อง และเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ
2. ธรรมชาติสร้างตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme Inhibition) ไว้กับพืช
พืชซึ่งมนุษย์ใช้กินทุกชนิด มีเอนไซม์ทำการย่อยอาหารอยู่ในตัวของมันเอง มีตัวห้ามหรือตัวยับยั้งเอนไซม์ ยังไม่ยอมให้ทำงานจนถึงเวลาอันควร เช่นเมื่อผลไม้ต้องสุกตามฤดูกาล โดยปกติตัวห้ามเหล่านี้จะเริ่มอ่อนแรงหรือหมดสภาพ ก็โดยสิ่งแวดล้อมรอบตัวมันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เมื่อเราเคี้ยวอาหารในปากก็คือ เรากำลังทำให้สภาวะเดิมรอบข้างของตัวห้ามเปลี่ยนไปจนตัวห้ามหยุดทำงาน ทำให้เอนไซม์ในอาหารเป็นอิสระ เพราะไม่มีอะไรมายับยั้ง
แต่อย่างไรก็ดี ตัวห้ามก็ยังมีจำนวนสูงอยู่มากในพืชบางระยะของการเจริญเติบโต เช่น ยอดใบไม้ ยอดผัก พืชยังอ่อน เป็นต้น
ในบางกรณี ท่านอาจกินอาหารประเภทยอดผักอ่อนสดๆ ท่านก็จะกินตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme Inhibitor) เข้าไปมากจนพลอยเข้าไปห้ามการทำงานของเอนไซม์ที่ผลิตออกจากตับอ่อนของตัวท่านเองเข้าไปด้วย กลายเป็นมีเอนไซม์ ติดลบ
ทางเลือกที่หนึ่งคือท่านอาจจะต้องกินเอนไซม์เสริมชดเชย
ทางเลือกที่สองคือ เอายอดผักมาต้ม เพื่อจะให้ความร้อนทำลายตัวห้าม (Inhibitor) แต่ก็จะพลอยทำลายเอนไซม์จากพืชซึ่งเป็นอาหาร (Food Enzyme) พร้อมกันไปเลยด้วย
3. อายุมากขึ้น การผลิตเอนไซม์ของร่างกายลดลง
ในสหรัฐอเมริกา นักวิทยาศาสตร์โรงพยาบาลไมเคิล รีส รัฐชิคาโก ได้ทำการวิจัยหาค่าของเอนไซม์อไมเลส (Amylase) ในน้ำลายจากคน 2 กลุ่มอายุด้วยกัน คือ กลุ่มหนุ่มสาว (21-31 ปี) กับกลุ่มคนชรา (69-100 ปี) พบว่า กลุ่มหนุ่มสาวมีเอนไซม์อไมเลสซึ่งใช้ย่อยอาหารประเภทแป้ง มากเป็น 30 เท่าของกลุ่มผู้สูงอายุ
นี่คือเหตุผลที่ว่าเมื่ออยู่ในวัยหนุ่มสาว กินอาหารประเภทสำเร็จรูป และ อาหารฟาสต์ฟู้ด (Fast Food) โดยไม่มีปัญหาการย่อย ไม่มีทางเจ็บป่วย แต่เมื่อแก่ตัว เอนไซม์ลดลง จะย่อยอาหารต่างๆ ได้ลำบาก ทำให้มีอาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง และถ้าพฤติกรรมการบริโภคยังเป็นอยู่อย่างนี้ (Poor Eating Habits) ท่านอาจแก่ตัวเร็วกว่าเพื่อนๆ ของท่านได้
4.มีสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้การย่อยอาหาร (Digestion) บกพร่อง
วิธีง่ายๆในการแก้ไขคือ ให้กินเอนไซม์ที่ผลิตมาจากพืชจะทำให้อาการกระเพาะและลำไส้แปรปรวนทุเลาลงได้ ถ้าศึกษาย้อนกลับไปหาสาเหตุก็คือ การย่อยอาหารไม่ดี การมีสารพิษ (Toxins) เนื่องจากมีกากอาหารที่ไม่ย่อย หมักหมนอยู่ในลำไส้ใหญ่
ซึ่งอาการต่างๆดังกล่าว เชื่อว่าการกินเอนไซม์เสริมชนิดช่วยย่อยจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด
ถึงแม้ร่างกายผลิตเอนไซม์เพื่อใช้ย่อยอาหารได้เอง แต่มีสาเหตุที่ทำให้การผลิตเอนไซม์บกพร่องทั้งๆยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ที่พบบ่อยคือ
1. ขาดการออกกำลังกาย และอยู่ในที่สิ่งแวดล้อมมีมลภาวะ (Poor Life Style)
2. มีความเครียดทั้งทางร่างกาย หรือ ทางจิตใจ (Stress Physical or Mental)
3. ดื่มสุรา อาหาร หรือน้ำไม่สะอาด (Alcohol, Polluted Food or Water)
4. กินอาหารปรุงสำเร็จซึ่งเอนไซม์ในอาหารถูกทำลาย (Not just Fast Food, Eat even Cooked Food)

เอนไซม์เปรียบเหมือนเม็ดเงินที่ฝากธนาคาร


เอนไซม์เปรียบเหมือนเม็ดเงินที่ฝากธนาคาร
ถ้าใช้อย่างเดียวหรือใช้อย่างฟุ่มเฟือย เงินในธนาคารก็หมดเร็ว
Dr. Edward Howell เป็นผู้บุกเบิกคนแรกเรื่องเอนไซม์ ไว้ว่า คนทั่วไปเบิกเอนไซม์จาก “ธนาคารเอนไซม์” (Enzyme Bank) และไม่ค่อยหากลับมาฝากคืนอีก ไม่เหมือนกับเบิกเงินจากธนาคาร เรามักจะพยายามหามาฝากคืน
จะเป็นการกระทำที่ฉลาด ถ้าพยายามกักตุนเอนไซม์ที่เราผลิตเองในร่างกายเอาไว้ และหาเอนไซม์จากภายนอกมาใช้แทน
ผลการศึกษาต่างก็สรุปว่า เอนไซม์คือสมบัติที่มีค่าของชีวิต มีอย่างจำกัด จงใช้อย่างประหยัดธรรมชาติไม่ได้ให้เอนไซม์มากับร่างกายจนฟุ่มเฟือย นักชีวเคมีเชื่อว่า เอนไซม์ที่ผลิตขึ้นในร่างกายแต่ละคนมีจำนวนจำกัด ดังนั้นต้องประหยัดเอนไซม์ ให้มีไว้ใช้นานที่สุด ถ้าต้องการมีอายุยาวและสุขภาพดี
เอนไซม์ที่สำคัญที่สุดคือ เมตาบอลิค เอนไซม์(Metabolic Enzyme) ซึ่งสำคัญในการซ่อมแซมและสร้างเซลล์ของร่างกาย ต้านทานโรค ป้องกันความเสื่อมโทรม ถ้าเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายต้องดึงเมตาบอลิค เอนไซม์ ทำให้หมดเปลือง พลังของชีวิต (Life Force) จึงบกพร่องและไม่เพียงพอ เป็นอันตรายต่อชีวิตได้โดยง่ายถ้าท่านมีเอนไซม์สมบูรณ์อายุอยู่ได้ถึง 120 ปีเพราะเซลล์ในร่างกายสามารถแบ่งตัวได้ตามกำหนดของโปรแกรมในนาฬิกาชีวิต ถ้าเอนไซม์ในร่างกายมีระดับต่ำ (Low Enzyme Level) โอกาสที่ท่านจะป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เกิดได้ง่ายมาก ในหนังสือ“เอนไซม์ในอาหาร”(Food Enzyme) มีความตอนหนึ่งว่า สุขภาพ (Health) คือ ปฏิกิริยาเคมีของเอนไซม์ที่บูรณาการ (Integrate) เข้าด้วยกันอย่างมีระบบ จึงทำให้ทุกเซลล์ของร่างกายดำเนินไปอย่างปกติสุขอย่าคิดว่าเอนไซม์อย่างเดียวก็พอ ท่านต้องมีนิสัยรักสุขภาพด้วยนักวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งจะมีระดับเอนไซม์ในเลือดต่ำกว่าปกติทุกราย ผู้ที่ต้องการมีอายุยืนและมีสุขภาพแข็งแรง นอกจากต้องกินอาหารสดและอุดมด้วยเอนไซม์แล้ว ต้องรักษาสุขภาพด้านอื่นๆ ด้วย เช่นออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่ มีทัศนคติในชีวิตที่ดีไม่เครียด ไม่ดื่มสุรา ฯลฯ ท่านจะมีชีวิตที่ยืนยาว ถ้ามีการทำงานของเอนไซม์ตามปกติ หากเอนไซม์ในร่างกายใช้หมดเปลืองเร็วเท่าใด ชีวิตก็จะสั้นเร็วเท่านั้น (The faster the metabolic rate , the shorter the life span)

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เมตาบอลิค เอนไซม์ (Metabolic Enzyme)


เมตาบอลิค เอนไซม์ (Metabolic Enzyme)
ในอดีตกว่า 100 ปี วงการแพทย์รู้จักความสำคัญของเอนไซม์เพียงอย่างเดียว คือใช้ย่อยอาหาร ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กเท่านั้น เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ นักวิจัยพบว่าบทบาทการย่อยอาหารของเอนไซม์ เป็นเพียงความสำคัญส่วนน้อยของระบบเอนไซม์ นั่นคือ มันทำหน้าที่กว้างขวางและสำคัญกว่านั้น ทำหน้าที่ไปทั่วทั้งร่างกาย ทุกๆ เซลล์ทั้ง 60 ล้านล้านเซลล์ ไม่เพียงแต่ในระบบทางเดินอาหารเพื่อการย่อยอาหารแต่อย่างเดียว
เมตาโบลิค เอนไซม์ สร้างและซ่อมแซมเซลล์
ร่างกายผลิตเอนไซม์ย่อยอาหาร ซึ่งมีไม่มากชนิดเพื่อมาใช้ย่อยอาหารและขณะเดียวกันก็จะผลิตเมตาโบลิค เอนไซม์หลายพันชนิด เพื่อไปทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีต่างๆในเซลล์ทุกชนิดทั้ง 60 ล้านล้านเซลล์ทั่วร่างกาย เพื่อซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ สร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ให้เป็นกล้ามเนื้อ เป็นผิวหนัง เป็นเม็ดโลหิตแดงคงเห็นแล้วว่า เมตาโบลิค เอนไซม์มีภาระกิจที่ยิ่งใหญ่มากกว่าที่จะทำหน้าที่เพียงย่อยอาหารในหลอดทางเดินอาหารเท่านั้น (It is a far bigger job for enzyme than merely digesting food in the food canal)
ถ้าเมตาโบลิค เอนไซม์สำคัญกว่าเอนไซม์ย่อยอาหารทำไมถึงทำหน้าที่เล่นบทเป็นตัวสำรอง
ร่างกายต้องการสารอาหาร ดังนั้นตัวอาหาร (Food) จึงจะต้องถูกย่อยจนเป็น สารอาหาร (Nutrient) ตามความต้องการของเซลล์ทั้ง 60 ล้านล้านเซลล์ หน้าที่ชิ้นแรกนี้เป็นของเอนไซม์ย่อยอาหาร (Digestive Enzyme) สารอาหารที่ดี คือสารอาหารที่ผ่านการย่อยมาอย่างสมบูรณ์ จะถูกส่งโดยระบบไหลเวียนของเลือดไปยังทุกเซลล์ในร่างกาย จะดูดซึมสารอาหารที่ต้องการเข้าไว้ในตัว เป็นอันจบหน้าที่เอนไซม์ย่อยอาหาร ส่วนเซลล์ทุกเซลล์ก็ได้รับสารอาหารครบถ้วนและรอการเผาผลาญโดยเมตาบอลิค เอนไซม์ต่อไป

ความสัมพันธ์ระหว่างเอนไซม์ย่อยอาหารกับเมตาโบลิคเอ็นไซม์ ร่างกายต้องย่อยอาหาร เพื่อให้มีสารอาหารได้สมบูรณ์ก่อนเพื่อให้เซลล์เอาไปใช้เป็นพลังงาน แต่ถ้าไม่มีสารอาหารมาให้ก็ไม่มีเชื้อเพลิงมาเผาผลาญให้เกิดพลังงาน ถึงแม้จะมีเมตาโบลิค เอนไซม์มารอทำหน้าที่เผาผลาญสารอาหารอยู่ก็ตาม เพราะไม่มีอะไรให้ไปเผาดังนั้นร่างกายจะเรียกใช้เอนไซม์ย่อยอาหารก่อน (First Call) เหมือนกับนักฟุตบอล โดยเมตาโบลิค เอนไซม์เป็นตัวสำรอง ถ้าเอนไซม์ย่อยอาหาร ซึ่งผู้จัดการทีมเรียกลงแข่งก่อนไม่พอ ตัวสำรองจึงจะเปลี่ยนเสื้อมาลงแทนเพื่อให้ครบทีมเมตาโบลิค เอนไซม์ (Metabolic Enzyme) ต่างกับเอนไซม์ย่อยอาหาร (Digestive Enzyme) ตรงที่การทำงานโดยถ้าเมื่อใดทำหน้าที่ย่อยอาหาร เมื่อนั้นจะเรียกเอนไซม์ย่อยอาหาร (The only Difference between Metabolic Enzyme and Digestive Enzyme is when they are used)

วิตามินหรือเกลือแร่ที่สำคัญๆถ้าไม่มีเอนไซม์ก็คือเศษผงธรรมดา


วิตามินหรือเกลือแร่ที่สำคัญๆถ้าไม่มีเอนไซม์ก็คือเศษผงธรรมดา

เอนไซม์จำเป็นสำหรับทุกปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย เซลล์ทั้ง 60 ล้านล้านเซลล์ ต้องใช้เอนไซม์เพื่อเร่งปฏิกิริยาเคมี ถ้าไม่มีเอนไซม์ ชีวิตดำรงอยู่ไม่ได้ วิตามิน เกลือแร่ โดยตัวเองทำอะไรไม่ได้เลย ถ้าไม่มีเอนไซม์ร่วมด้วย สารต่างๆ ดังกล่าว คือ ตัวร่วมกับเอนไซม์ (Coenzyme)
เอนไซม์จึงเป็นผู้สร้างเซลล์ สร้างอวัยวะ สร้างร่างกาย และสร้างชีวิตฮอร์โมน วิตามิน เกลือแร่ โปรตีน และสารอาหารอื่นๆ สำคัญต่อชีวิตและสุขภาพแต่เอนไซม์เท่านั้นที่ทำให้สารต่างๆ ทำงานตามคุณสมบัติของมันได้ ถ้าไม่มีเอนไซม์ ทุกอย่างทำปฏิกิริยาเคมีไม่ได้เลย จนมีผู้กล่าวว่า “เอนไซม์คือพลังงานชีวิต” (Life Force) ถ้าระดับเอนไซม์ในร่างกายเกิดลดต่ำลงจนถึงระดับหนึ่ง ทำให้ทุกระบบทำงานไม่ได้ ชีวิตจะหยุดทันที

เอ็นไซม์กับการเกิดโรค

อาการที่แสดงว่าร่างกายขาดเอนไซม์ (Enzyme Deficiency)
1. อาการที่ท่านรู้สึกด้วยตัวเอง (Symptom) ว่าท่านน่าจะขาดเอนไซม์ คือ
1.1. รู้สึกเหนื่อยหลังจากกินอาหารมื้อหนักๆ
1.2. อ่อนเพลียเป็นประจำ (Chronic Fatigue Syndrome)
1.3. ท้องผูก
1.4. ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ บางครั้งมีอาการจุกเสียด
1.5. ลมแน่นท้อง ผายลมมีกลิ่นเหม็น
1.6. อุจจาระจมน้ำ และอุจจาระเหม็นมาก
1.7. มีกลิ่นปาก
1.8. มีอาการของโรคภูมิแพ้ง่าย บางครั้งถึงขนาดหอบหืด
1.9. เวลาเป็นแผลจะหายช้า
1.10. น้ำหนักตัวเพิ่มง่าย


อาการที่แพทย์ตรวจพบ (Sign) ว่าท่านกำลังขาดเอนไซม์ คือ
2.1. ตับอ่อนบวม
2.2. เม็ดโลหิตขาวเพิ่มจำนวนมากกว่าปกติหลังกินอาหาร 30 นาที
2.3. น้ำลายมีฤทธิ์เป็นกรด (pH ต่ำกว่า 7)
2.4. ในปัสสาวะมีสารพิษมาก เกิดจากอาหารไม่ย่อยจึงบูดในลำไส้ใหญ่ ร่างกายจะดูดซึมพร้อมกับน้ำเข้าไปในกระแสเลือด ตับและไตจะกรองสารพิษเอาไว้ และจะขับสารพิษนี้ทิ้งออกทางปัสสาวะ
2.5. ระดับเอนไซม์ต่ำกว่าปกติในเลือด

กระบวนการทำงานเอ็นไซม์

กระบวนการทำงานของเอ็นไซม์เป็นอย่างไร?

การปรับตัวเองในการผลิตเอนไซม์

กฎของการปรับตัวในการผลิตเอนไซม์ย่อยอาหาร (Law of the adaptive secretion of Digestive Enzyme) คือ ถ้าท่านกินอาหารที่เอนไซม์ในอาหารบกพร่อง ร่างกายก็บังคับให้ผลิตเอนไซม์ย่อยอาหารมาชดเชย ผลก็คือทำให้เมตาบอลิคเอนไซม์ ต้องผลิตลดจำนวนลงโดยร่างกายเป็นผู้ปรับปริมาณการผลิต (A hypersecretion of one kind can be attained only at the expense of a hyposecretion of the other kind.) การผลิตเอนไซม์ชนิดหนึ่งออกมามาก ก็จะต้องผลิตเอนไซม์อีกชนิดหนึ่งน้อยลง การที่ใช้เมตาบอลิค เอนไซม์มาทำหน้าที่เพียงย่อยอาหาร เท่ากับเราเอาของดีราคาแพงมาใช้แทนของราคาถูก เปรียบ เสมือนท่านเอารถเก๋งยี่ห้อเบนซ์มาบรรทุกถังแก๊สหุงข้าว เนื่องจากรถปิคอัพในบ้านมีไม่พอ ถึงแม้แก๊สหุงข้าวก็จำเป็น ถ้าไม่มีก็ทำอาหารกินไม่ได้ และถ้าไม่พอก็ควรไปเช่าเอามาใช้จากภายนอกบ้าน ท่านควรถนอมรถเก๋งราคาแพงไว้เพื่อประโยชน์ในการติดต่อธุรกิจสำคัญมีค่าเป็นล้าน รถปิคอัพเปรียบเหมือนเอนไซม์ย่อยอาหาร (Digestive Enzyme) ส่วนรถเบนซ์เก๋งของท่านก็คือเมตาบอลิค เอนไซม์ (Supple mental Enzyme) นั่นเอง

เพื่อความเข้าใจง่ายๆ ถึงเอนไซม์ชนิดใดจำต้องมีก่อนหลัง ขออธิบายดังนี้คือ

ถ้ามีเอนไซม์ย่อยอาหาร (Digestive Enzyme)ฮอร์โมน “จึงจะมีขึ้น” หรือเกิดขึ้นในร่างกายได้
และถ้ามีเมตาบอลิค เอนไซม์ (Metabolic Enzyme)ฮอร์โมนที่มี “จึงจะทำงาน” โดยไม่บกพร่อง

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เอ็นไซม์มี 3 ประเภท


เอ็นไซม์มี 3 ประเภท
1. เอนไซม์จากอาหาร (Food Enzyme) พบได้ในอาหารดิบทุกชนิด
§ถ้ามาจากพืช เรียกว่า เอนไซม์จากพืช (Plant Enzyme)
§และจากสัตว์ เรียกว่า เอนไซม์จากสัตว์ (Animal Enzyme)
•อาหารที่ปรุงแต่งใช้ความร้อน ที่สูงเกินกว่า 118 oF จะทำลายเอนไซม์โดยง่าย และอาหารที่ไม่มีเอนไซม์เรียกว่า อาหารที่ตายแล้ว (Dead Food)
2. เอนไซม์ย่อยอาหาร (Digestive Enzyme) ผลิตโดยร่างกาย ส่วนใหญ่ผลิตจากตับอ่อน ใช้ย่อยและดูดซึมอาหารที่กินเข้าไป ทำให้ได้รับสารอาหาร (Nutrient) ที่มีคุณค่า

3. เอนไซม์ในการเผาผลาญพลังงาน เมตาบอลิค เอนไซม์ (Metabolic Enzyme)
ผลิตในเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีเพื่อเผาผลาญสารอาหารและสร้างพลังงาน สร้างภูมิต้านทาน สร้างความเจริญเติบโต ตลอดจนซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของอวัยวะต่างๆ



เอนไซม์คืออะไร?


“เอ็นไซม์” คือโมเลกุลโปรตีนที่มีพลังงานสูง เพื่อใช้ในขบวนการย่อยและเผาผลาญอาหาร ร่างกาย ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้หากขาด “เอ็นไซม์” ร่างกายเราสามารถรับเอ็นไซม์ได้จาก 2 วิธีคือ

1.การรับประทานอาหารสด (ไม่ผ่านความร้อน)เนื่องจากการปรุงอาหารสุกโดยผ่าน “ความร้อน” ทำลาย “เอ็นไซม์”ไปโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะผลิตเอ็นไซม์ลดน้อยลงเรื่อย ๆ และเมื่อได้รับเอ็นไซม์ไม่เพียงพอเพื่อการย่อย ก็ทำให้เกิดการหมักเน่าของอาหารตกค้างอยู่ภายในร่างกาย ซึ่งเป็นบ่อเกิดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

2. การเสริม “เอ็นไซม์สดจากพืช”เป็นการสกัดเอ็นไซม์สดจากพืช เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยอาหาร
ความสำคัญของเอ็นไซม์

•เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีในทุกๆ เซลของร่างกาย ซึ่งมีมากกว่า 60 ล้านล้านเซล
•การหายใจ การย่อยอาหาร การเจริญเติบโต การคิดและการนอนก็ต้องใช้เอนไซม์
•ถ้าขาดเอนไซม์ ชีวิตย่อมอยู่ไม่ได้ เช่นการทำปฏิกิริยาเคมีสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโรคเข้ามาจู่โจมร่างกาย ถ้าทำโดยไม่มีเอนไซม์ ต้องใช้เวลา 3 เดือน เชื้อโรคฆ่าเราเสียก่อน
•ถ้ามีเอนไซม์สมบูรณ์ ภูมิต้านทานจะเกิดเพียงในหนึ่งนาทีแรกที่เชื้อโรคเข้ามาสู่ร่างกาย

•นักวิทยาศาสตร์สนใจศึกษาเอนไซม์กันมากในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา และที่ไม่รู้จักเรื่องราวของเอนไซม์อีกมาก
•วงการแพทย์ให้ความสนใจประโยชน์ของเอนไซม์ในการป้องกันและทำเป็นยาเพื่อรักษาโรค และการห้ามการทำงานของเอนไซม์บางอย่างกลับมีประโยชน์ในการไปรักษาอาการของโรคได้
•อนาคตข้างหน้าภายในไม่เกิน 30 ปี เอนไซม์จะเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในวงการแพทย์ และยอมรับว่า เอนไซม์คือ พลังงานสำคัญต่อชีวิต (Life Force)