วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เอนไซม์เปรียบเหมือนเม็ดเงินที่ฝากธนาคาร


เอนไซม์เปรียบเหมือนเม็ดเงินที่ฝากธนาคาร
ถ้าใช้อย่างเดียวหรือใช้อย่างฟุ่มเฟือย เงินในธนาคารก็หมดเร็ว
Dr. Edward Howell เป็นผู้บุกเบิกคนแรกเรื่องเอนไซม์ ไว้ว่า คนทั่วไปเบิกเอนไซม์จาก “ธนาคารเอนไซม์” (Enzyme Bank) และไม่ค่อยหากลับมาฝากคืนอีก ไม่เหมือนกับเบิกเงินจากธนาคาร เรามักจะพยายามหามาฝากคืน
จะเป็นการกระทำที่ฉลาด ถ้าพยายามกักตุนเอนไซม์ที่เราผลิตเองในร่างกายเอาไว้ และหาเอนไซม์จากภายนอกมาใช้แทน
ผลการศึกษาต่างก็สรุปว่า เอนไซม์คือสมบัติที่มีค่าของชีวิต มีอย่างจำกัด จงใช้อย่างประหยัดธรรมชาติไม่ได้ให้เอนไซม์มากับร่างกายจนฟุ่มเฟือย นักชีวเคมีเชื่อว่า เอนไซม์ที่ผลิตขึ้นในร่างกายแต่ละคนมีจำนวนจำกัด ดังนั้นต้องประหยัดเอนไซม์ ให้มีไว้ใช้นานที่สุด ถ้าต้องการมีอายุยาวและสุขภาพดี
เอนไซม์ที่สำคัญที่สุดคือ เมตาบอลิค เอนไซม์(Metabolic Enzyme) ซึ่งสำคัญในการซ่อมแซมและสร้างเซลล์ของร่างกาย ต้านทานโรค ป้องกันความเสื่อมโทรม ถ้าเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายต้องดึงเมตาบอลิค เอนไซม์ ทำให้หมดเปลือง พลังของชีวิต (Life Force) จึงบกพร่องและไม่เพียงพอ เป็นอันตรายต่อชีวิตได้โดยง่ายถ้าท่านมีเอนไซม์สมบูรณ์อายุอยู่ได้ถึง 120 ปีเพราะเซลล์ในร่างกายสามารถแบ่งตัวได้ตามกำหนดของโปรแกรมในนาฬิกาชีวิต ถ้าเอนไซม์ในร่างกายมีระดับต่ำ (Low Enzyme Level) โอกาสที่ท่านจะป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เกิดได้ง่ายมาก ในหนังสือ“เอนไซม์ในอาหาร”(Food Enzyme) มีความตอนหนึ่งว่า สุขภาพ (Health) คือ ปฏิกิริยาเคมีของเอนไซม์ที่บูรณาการ (Integrate) เข้าด้วยกันอย่างมีระบบ จึงทำให้ทุกเซลล์ของร่างกายดำเนินไปอย่างปกติสุขอย่าคิดว่าเอนไซม์อย่างเดียวก็พอ ท่านต้องมีนิสัยรักสุขภาพด้วยนักวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งจะมีระดับเอนไซม์ในเลือดต่ำกว่าปกติทุกราย ผู้ที่ต้องการมีอายุยืนและมีสุขภาพแข็งแรง นอกจากต้องกินอาหารสดและอุดมด้วยเอนไซม์แล้ว ต้องรักษาสุขภาพด้านอื่นๆ ด้วย เช่นออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่ มีทัศนคติในชีวิตที่ดีไม่เครียด ไม่ดื่มสุรา ฯลฯ ท่านจะมีชีวิตที่ยืนยาว ถ้ามีการทำงานของเอนไซม์ตามปกติ หากเอนไซม์ในร่างกายใช้หมดเปลืองเร็วเท่าใด ชีวิตก็จะสั้นเร็วเท่านั้น (The faster the metabolic rate , the shorter the life span)

ไม่มีความคิดเห็น: